ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล

ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล


ผลงานทัศนศิลป์ล้วนมีปรากฎอยู่ในแต่ละวัฒนธรรม  ซึ่งการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ขึ้นมาก็ล้วนแต่ต้องการตอบสนองความต้องการของสังคมทั้งสิ้น  สำหรับสังคมไทย  ผลงานทางด้านทัศนศิลป์มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง  ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์งานมีอยู่หลายปัจจัย  เช่นเดียวกับทัศนศิลป์สากลก็จะมีรูปแบบแตกต่างไปจากของไทย  และมีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ที่มีบางด้านมีทั้งเหมือนและแตกต่างจากทัศนศิลป์ไทย  การเรียนรู้ทำความเข้าใจทัศนศิลป์ไทยและสากล  จะช่วยทำให้เราสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ระหว่างสองวัฒนธรรมได้
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  ผลงานทัศนศิลป์ของไทยที่สร้างขึ้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท  ได้แก่  วิจิตรศิลป์ หรือ ศิลปะแท้ คือ ผลงานจิตกรรม  ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม และประยุกต์ศิลป์  คือ การออกแบบตกต่าง และ แฟชั่น  ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ทั้งสองประเภท ได้แก่
   1. แนวความคิกและปรัชญาความเชื่อ
   2. วัสดุและสิ่งแวดล้อม
   3. การรับอิทธิพลทางศิลปะ
   4. หน้าที่ใช้สอย
    สรุปได้ว่า  จุดประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณสถาน  โบราณวัตถุ  และศิลปวัตถุที่ปรากฎตามภูมิภาคต่างๆส่วนใหญ่จะพบถึงความเกียวข้องเชื่อมโยงกัน ในเรื่องของความของความเชื่อ  ความศรัทธาทางศาสนาและประเพณี วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นเป็นปัจจัยหลัก  ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยรวม
ผลงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล  ศิลปะสากลเป็นศิลปะที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะตะวันตก  มีวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัย  และแพร่หลายไปยังต่างชาติต่างๆ  ซึ่งผลงานทัศนศิลป์ที่สร้างกันขั้นมาในสมัยหลังๆส่วนใหญ่จะใช้แบบแผนตามแบบอย่างของศิลปะสากล  ในระยะแรกงานศิลปะแบบสากลจะใช้เป็นแบบเลียนแบบธรรมชาติและสิ่งใกล้ตัว  ระยะหลังในสมัยกรีกและโรมันมีบทบาท  จึงมีการพัฒนางานศิลปะรูปแบบต่างๆขึ้นมา
เปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากล
1.ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทย  จะคงไว้ในรูปของขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นศิลปะประจำชาติที่เราควรภาคภูมิใจ  โดยจะแบ่งเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้

    - สมัยก่อนสุโขทัย
    - สมัยสุโขทัย
    - สมัยอยุธยา
    - สมัยรัตนโกสินทร์
2.ทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมสากล  เป็นศิลปะที่มีการผสมผสานแนวความคิดตลอดจนรูปแบบต่างๆไว้อย่างกว้างขวาง  มีการใช้วัสดุ  อุปกรณ์ และวิธีการสร้างสรรค์ผลงานโดยอิสระ โดยแบ่งออกเป็น 3 สมัย
   - สมัยโบราณ
   - สมัยกลาง
   - สมัยใหม่
   ดังนั้น  การที่จะเปรียบเทียบความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ในวัฒนธรรมไทยและสากลให้เห็นภาพอย่างละเอียดและมีความเด่นชัด  อาจเป็นไปได้ยากเนื่องจากมีเนื้อหาสาระและรายละเอียดมาก  ในระดับชั้นนี้คงต้องอาศัยการเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนศิลป์ทั้งสองเป็นภาพรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น