กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

กระบวนการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

            จิตรกรรม เป็นผลงานทัศนศิลป์แขนงหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องสัมพันธุ์กับการวาดเขียนและระบายสี มีลักษณะทั่วไปเป็นผลงานบนแผ่นพื้น 2 มิติ แต่ใช้กระบวนการเพื่อสร้างภาพลวงตาให้เกิดเป็น 3 มิติ โดยใช้สีชนิดต่างๆ เช่น สีน้ำ สีน้ำมัน สีฝุ่น ฯลฯ เป็นสื่อกลางในการแสดงออกถึงเจตนาในการสร้างสรรค์
โดยทั่วไปแล้ว จิตรกรรมมีหลายเรื่องราวที่ศิลปินนิยมนำมาสร้างสรรค์ ได้แก่       
1.จิตรกรรมประเภทหุ่นนิ่ง (Still Life)
2.จิตรกรรมประเภทภาพทิวทัศน์ (Landscape)
3.จิตรกรรมประเภทภาพคน (Portrait)
4.จิตกรรมประเภทภาพสัตว์ (Animals)
5.จิตรกรรมประเภทเรื่องราวจากศาสนา ประวัติศาสตร์ และวรรณคดี (Religion , History and Literature
                                การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ
                การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมสีน้ำ จะต้องมีขั้นตอนและอุปกรณ์ที่ใช้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม  เครื่องมือและวัสดุ อุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์จิตรกรรมสีน้ำ ประกอบด้วย
1.กระดาษ (Paper) โดยทั่วไปกระดาษสำหรับสีน้ำจะมีพื้นผิวแตกต่างกัน ทั้งพื้นผิวหยาบและพื้นผิวเรียบ
2.ดินสอ (Pencil) และยางลบ (Eraser) ดินสอควรจะใช้เกรดอ่อนๆ
3.สีน้ำ (Watercolour) สีน้ำทั่วไปมี 2 เกรด คือ สำหรับนักเรียน และสำหรับศิลปิน สีน้ำจะมีบรรจุภัณฑ์ให้เลือกตามความเหมาะสม 3 ลักษณะ คือ
                1.แบบหลอด เป็นที่นิยมกันทั่วไป สีจะมีความชื้นและความแตกตัวได้ดี
                2.แบบบรรจุเสร็จในจานสีแบบเป็นก้องแข็ง เหมาะสำหรับการพกติดตัวไปเขียนนอกสถานที่
                3.แบบขวด มีลักษณะเป็นโปร่งใส

4.จานสี (Plate)
5.พู่กัน (Brush) พู่กันที่ดีต้องมีคุณสมบัติที่ป้ายแล้วมีจังหวะสปริงตัวเล็กน้อย โดยพู่กันมี 2 ลักษณะ คือ พู่กันชนิดกลม และพู่กันชนิดแบน
6.ฟองน้ำ (Sponge) เป็นส่วนช่วยในการทาน้ำบนกระดาษที่ได้ผลเร็ว และใช้ในการซับสีที่ไม่ต้องการออก
7.ผ้าเช็ดพู่กัน (Clothes)
8.ภาชนะใส่น้ำ (Vessel)
9.กระดาษสเกตซ์และตัวหนีบ (Board and Clip) กระดาษสเกตซ์จะทำด้วยไม้อัดแผ่นเรียบหรือกระดาษหนาแข็ง
10.ขาตั้งเขียนภาพและเก้าอี้นั่ง (Easel and Chari)
สารสะลายประกอบการวาดภาพสีน้ำ
                โดยปกติสารละลายที่ใช้ในการละลายสีน้ำ คือน้ำสะอาด แต่ถ้าต้องการความพิเศษในการระบาย  จะต้องใช้สารละลายชนิดอื่นๆได้แก่
1. Gumarabic ใช่ผสมสารป้องกันการกระจายของเนื้อสีเมื่อต้องการระบายสีแบบเปียกซ้อนเปียก
2. Watercolour Gel ใช้ผสมเพื่อให้เนื้อสีหนาขึ้น
3. Wetting Agent เป็นสารที่ใช้ผสมเพื่อลดความตึงของพื้นผิวละช่วยให้ผิวซับน้ำได้ดีขึ้น
4. Glycerine ให้หยดลงบนสีจานมีเพื่อป้องกันสีแห้งแตก
5.Varnishing เป็นสารละลายที่ใช้เคลือบผิวหน้าหลังจากวาดเสร็จและแห้งดีแล้ว
6.Masking Fluid น้ำยาทากันน้ำ
การร่างภาพ
ก่อนลงมือร่างภาพต้องคำนึงถึงเรื่องหลักเกณฑ์ขององค์ประกอบศิลป์ คือ
1.จุดสนใจ คือ สิ่งที่กำหนดให้เป็นตัวสำคัญ ที่ทำให้ผู้ชมเห็นเป็นสิ่งแรกเมื่อมองเห็นภาพ
2.ความสมดุล คือ ความพอดี ความลงตัวในภาพ
3.เอกภาพ คือ ความเป็นหนึ่งเดียวในภาพ 
เทคนิคการใช้สีน้ำ
1.วิธีเปียกซ้อนเปียก คือ สีจะชุ่มน้ำทั้งภาพ ให้ใช้น้ำทากระดาษให้ชุ่มก่อนลงสี
2.วิธีเปียกซ้อนแห้ง คือ สีบนกระดาษไม่ชุ่มน้ำ ให้ทาน้ำลงบนกระดาษก่อน และให้กระดาษแห้งถึงเริ่มเขียนสีน้ำ
3.วิธีแปลงแห้ง คือ การเขียนภาพด้วยแปลงแห้ง คือการผสมสีกับน้ำพอหมาดๆแล้วป้ายลงบนกระดาษ สีจะติดบ้าง ไม่ติดบ้าง
การสร้างสรรค์งานประติมากรรม
ประติมากรรม
                เป็นผลงานศิลปะแบบหนึ่ง ซึ่งมนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นด้วยความรู้สึกประทับใจ บัลดาลใจในธรรมชาติ โดยมีนัยในศิลปะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นรูปทรง 3 มิติกินระวางเนื้อในอากาศ
ประเภทของงานประติมากรรม
                ประติมากรรมแบ่งได้ตามรูปลักษณ์ 3 ประเภท ดังนี้
1.ประเภทนูนต่ำ สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความคิดทางด้านความงามในการประดับตกแต่งอาคารทาง         ปัตยกรรม เพื่อการสร้างศิลปะรับใช้ศาสนา และสังคมมนุษย์เป็นส่วนใหญ่ ต่อมาก็ได้สร้างศิลปะเพื่อศิลปะเกิดขึ้น จึงได้มีการสร้างประติมากรรมแบบนูนต่ำขึ้น คือการรับรู้เฉพาะส่วนหน้าเพียงด้านเดียว
2.ประเภทนูนสูง คือ จะมีรูปทรงและมวลปริมาตรความนูนสูงขึ้นมาจากฐานรองรับที่เป็นพื้นหลังภาพตั้งแต่ครึ่งหน้าของรูปจริงขึ้นไป
3.ประเภทลอยตัว สามารถมองเห็นได้รอบด้าน
ลักษณะงานประติมากรรม
                เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นตามชนิดของวัสดุที่มีอยู่หลากหลายทั้งในธรรมชาติและวัสดุที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นขึ้น แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
1.การปั้น โดยใช้วัสดุที่มีเนื้ออ่อน เช่น ดินเหนียว ดินน้ำมัน
2.การแกะสลัก โดยใช้วัสดุเนื้อแข็ง เช่น ไม้ หิน งาช้าง
3. การหล่อ เพื่อให้ได้ผลงานที่คงทนถาวร และเพิ่มจำนวนชิ้นงานตามต้องการ เช่น แม่พิมพ์ต่างๆ
4.การประกอบขึ้นรูป คือ สร้างรูปในรูปแบบ 3 มิติ

การสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์
                ภาพพิมพ์ คือ ร่องรอยที่ทำให้เกิดขึ้นโดยวิธีการพิมพ์ จะต้องกระทำบนวัตถุอันหนึ่งก่อน แล้วจึงกดทับให้ไปติดประทับรอยบนวัสดุอีกอันหนึ่ง
แบ่งออกตามกระบวนการสร้างสรรค์ได้ 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1.กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนนูน คือ การสร้างงานภาพพิมพ์ด้วยกรรมวิธีสร้างแม่พิมพ์โดยนำวัสดุที่มีเนื้อแข็งพอสมควรและแกะส่วนที่ไม่ต้องการออก แล้วกลิ้งหมึกพิมพ์ลงบนผิวหนังส่วนนูน เป็นต้น
2.กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนร่องลึก คือ สร้างด้วยแผ่นทองแดง เหล็ก หรือสังกะสี ด้วยวิธีการแกะหรือขูดพื้นที่ของวัสดุบางส่วนออกไป แล้วผ่านกระบวนการกรดกัด เป็นต้น
3.กรรมวิธีพิมพ์จากส่วนผิวพื้น คือ การสร้างภาพบนพื้นราบ ผิวหน้าเรียบเสมอกัน
4.กรรมวิธีพิมพ์ผ่านช่องฉลุ คือ การพิมพ์ผ่านช่องว่าที่สร้างสรรค์ไว้ เช่น การอัดภาพถ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น